ไปสู่เนื้อหา

การเชื่อมต่อ

เชื่อมต่อทุกการให้บริการ

เชื่อมต่อทุกการให้บริการ

การเชื่อมต่อ

ทุกวันนี้รถยนต์รวมเอาคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้าไปอยู่ในระบบมากขึ้น สิ่งเหล่านี้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วรถยนต์นั้นสามารถจำเสียงและทำตามคำสั่งของคนขับได้ผ่านหน้าจอสัมผัส มากกว่านั้นยังรวมไปถึงฟังก์ชั่นพื้นฐานที่มีในปัจจุบัน เช่น การหาแผนที่ การเลือกเพลง การพยากรณ์อากาศ จดจำตารางเวลาของผู้ขับ และควบคุมอุปกรณ์ของตัวรถ เช่น ระบบปรับอากาศ หรือ ซันรูฟ

หรือระบบ Connected car ที่จะมีในเร็วๆ นั้นจะมีตวามก้าวหน้ามากขึ้น เช่นควบคุมการสั่งงานระบบไฟฟ้าทั้งหมด หรือ การตรวจเช็คสุขภาพของคนขับพร้อมกับการสื่อสารกับแพทย์ได้เองผ่านวีดีโอคอลอีกด้วย ถ้าเปรียบระบบขับขี่อัตโนมัติเป็นเทคโนโลยีที่แสดงถึงความอิสระภาพในการขับเคลื่อน ระบบ Connected car ก็เปรียบเสมือนอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสะบายขึ้นเช่นกัน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเชื่อมต่อที่ทันสมัย เปิดโอกาสให้เกียเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแบรนด์และผู้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลก พร้อมการลงทุนกับธุรกิจประเภท Start-up หลังจากเปิดตัว Connected car ในปี 2020 เกีย มอเตอร์ส์ จะขยายแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้จนกว่าระบบจะถูกติดตั้งในรถยนต์ในปี 2030

ccOS (Connected Car Operating System)
ระบบซอฟต์แวร์ออกแบบเพื่อเชื่อมโยงและส่งรายละเอียดข้อมูลรถยนต์ได้อย่างรวดเร็ว
ccSP (Connected Car Service Platform)
ช่องทางการบริการของเกีย สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการบริการระหว่างรถยนต์ได้
Smart Care
เป็นระบบผู้ช่วยส่วนตัวที่แจ้งตือนการนัดหมายให้ผู้ขับขี่ทราบ พร้อมแจ้งรายละเอียดแผนที่ไปยังจุดหมายได้
Assistant Chat
ระบบสั่งการด้วยเสียงอัตโนมัติพร้อมให้ข้อมูลตามคำสั่งเสียงจากผู้ขับขี่
CAR-TO-HOME SERVICE
เป็นฟังก์ชั่นสั่งการด้วยเสียงจากรถยนต์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในบ้านของผู้ขับขี่ได้
Boundless Technology of Connectivity
ระบบการเชื่อมต่อของรถยนต์ถูกพัฒนาโดยเกีย มอเตอร์ ซึ่งระบบนี้ใช้ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบสั่งงานด้วยเสียง เพื่อความสามารถในการควบคุมรถยนต์ การให้ข้อมูลกับผู้ขับขี่ รวมถึงการให้ผู้ขับขี่เข้าถึงการเชื่อมต่อกับทุกสิ่งได้ง่ายและตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อเข้ากับโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือแม้กระทั่งการใช้บริการด้านสุขภาพ เพียงใช้ภาษาปกติของมนุษย์ ไม่ต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการสั่งงาน เช่น คำสั่ง “สภาพอากาศวันพรุ่งนี้เป็นแบบใด และเปิดไฟในบ้านให้ด้วย” การเชื่อมต่อนี้จะประสบความสำเร็จได้ เกีย มอเตอร์ จึงมีการแบ่งทีมขึ้นมา ทีมแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2014 ทีมนี้ดูแลและสำรวจเรื่องการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งทีมดังกล่าวจะทำงานคู่กับทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในเมือง Namyang และอีกทีมหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อเป็นพิเศษ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เกีย มอเตอร์ จึงประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาการเชื่อมต่ออย่างมีเสถียรภาพ และระบบ ccOS ที่เชื่อมต่อข้อมูลรถยนต์ได้รวดเร็ว โดยทุกอย่าง เกีย มอเตอร์ คิดค้นและพัฒนาได้ด้วยตนเอง ปัจจุบัน เกีย มอเตอร์ กำลังพัฒนาระบบ ccSP ซึ่งเป็นช่องทางการให้ข้อมูลและบริการที่มีอย่างหลากหลายให้กับผู้ขับขี่ โดยพัฒนาร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศเกาหลี สหรัฐอเมริกา และจีนร่วมกัน
A Connected Future
การศึกษาเทคโนโลยีเชิงลึก ด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และใช้ความก้าวหน้าทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อของ เกีย มอเตอร์ เกีย มอเตอร์ จึงได้สร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ของตนเองในปี 2013 ขึ้น และสร้างทีมวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้ได้มากที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ระบบการเชื่อมต่อข้อมูล การทำนายข้อมูลทางการตลาด แม้กระทั่งกำหนดทิศทางการทำวิจัยต่างๆ นอกจากนั้น เกีย มอเตอร์ ยังสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ประเทศจีน ในเดือนกันยายนปี 2017 ศูนย์ข้อมูลดังกล่าว มีหน้าที่เปิดระบบบริการการเชื่อมต่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ประเทศจีนเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยผู้คนมากที่สุดในโลก เกีย มอเตอร์ จึงวางแผนเปิดศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ในขณะเดียวกัน เกีย มอเตอร์ ยังได้ลงทุนตั้งศูนย์การขับเคลื่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประสานงานกับอุตสาหกรรมต่างๆ และทำวิจัยเกี่ยวกับการขับเคลื่อนในอนาคต โดยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีกำหนดเสร็จสิ้นในปี 2019

ในปี 2020 รถยนต์ของเกียพร้อมกับการเชื่อมต่อคันแรก จะเริ่มผลิตและรองรับการบริการต่างๆ อย่างครบวงจร ยนตรกรรมแห่งอนาคตนี้ จะมีฟังก์ชั่นที่กล่าวไปในข้างต้น และมีความเร็วในการประมวลผลที่ 1 กิกะไบต์ต่อวินาที เกีย มอเตอร์ จะแสดงให้เห็นว่า อนาคตได้อยู่ที่นี่แล้ว ซึ่งรถยนต์พร้อมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อนี้ จะถูกนำมาใช้กับรถยนต์ทุกรุ่นของเกียภายในปี 2030